×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
กรณีศึกษาในเบื้องต้น ถึงสาเหตุการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน บริเวณตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
เพื่อเป็นใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภัยในระยะยาวจากการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน บริเวณตำบลน้ำก้อ และบริเวณอื่นๆ ในประเทศไทย


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

บทนำ
          จากปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันล่าสุดที่บริเวณตำบลน้ำก่อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรง (ต่างจากกรณีน้ำท่วมล้นฝั่งจากแม่น้ำหรือฝนตกหนักในที่ราบลุ่มในภาคอิสานตอน บน) ในพื้นที่ต่างๆของประเทศเราในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ในลักษณะคล้ายคลึงกันได้เกิดขึ้นมาแล้วในหลายจังหวัด ได้แก่

- บริเวณอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2517
- บริเวณตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2531
- บริเวณอำเภอละอุ่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ในเดือนสิงหาคม ปี 2540
- บริเวณกิ่งอำเภอเขาคชกูฏ จังหวัดจันทบุรี ในเดือนกรกฏาคม ปี 2542
- บริเวณอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2544
- และล่าสุดที่บริเวณตำบลน้ำก่อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในระหว่างวันที่ 11-21 เดือนสิงหาคมปี 2544 นั้น

แนวทางการป้องกันภัยจากปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน ที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการศึกษาและวิจัยในปัจจุบันที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาใช้ในการบริหาร จัดการ ก็คือ การเฝ้าระวังในพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์แล้วว่า เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน ในระดับสูงมาก ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งจะมีการวางแผนและทำงานเป็นทีม โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกันดำเนินการ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและทันการณ์ เป็นหลักในการวิเคราะห์ และเฝ้าติดตามระวัง ในพื้นที่ดังกล่าว (ไม่นับศักยภาพของบุคลากร ของเขาที่มีคุณภาพในทุกระดับ)

ดังนั้นการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำ ท่วมและดินถล่มฉับพลัน ในระดับสูงมาก ต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน ในแต่ละจังหวัด แต่ละภาคของประเทศเรา จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนมาก ก็เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงมีความจำเป็นต่อการเฝ้าระวังติดตาม ในการเตือนภัย การลงทุนในการวางแผนป้องกันด้านกายภาพและการเตือนภัยโดยเครื่องมือที่ทัน สมัย ในการทำงานในลำดับต่อไปในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการเหมือนกัน ในทุกขั้นตอนก็ได้ อย่างไรก็ตามการที่จะคัดเลือกพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อ การเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม ฉับพลัน ในระดับต่างได้นั้น คงต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อน ไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันในทางทฤษฏีโดยสังเขป เสียก่อน

สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ
ในทางทฤษฏีแล้วมีสาเหตุอยู่ 2 ประการหลัก ได้แก่
  1. สาเหตุตามธรรมชาติ
  2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
1. สาเหตุตามธรรมชาติ ประกอบด้วย
- ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ความสูง ความลาดชัน
- ลักษณะธรณีวิทยา ได้แก่ ชนิดหิน รอยเลื่อย รอยแตก
- ลักษณะของดิน ได้แก่ ชนิดของดิน ความลึกของชั้นดิน
- ลักษณะของป่าไม้ ได้แก่ ชนิดของป่าไม้ ขนาดของต้นไม้
- พื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำ ได้แก่ รูปร่างและขนาดของพื้นที่รับน้ำ
- ปริมาณน้ำฝน (ตัวเร่งและปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด)

2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ ประกอบด้วย
- การตัดไม้ทำลายป่า
- การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกวิธีได้แก่ การทำไร่เลื่อนลอย การจัดผังเมืองและสาธารณุปโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น การสร้างถนนขวางทางน้ำ การให้ปลูกบ้านเรือนตามแบบที่ไม่เหมาะสมในลุ่มน้ำ และในที่ที่อันตราย เป็นต้น

เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันบริเวณตำบลน้ำก้อ จะขอยกตัวอย่างของลักษณะของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นประกอบ โดยแสดงเป็นแผนที่บริเวณโดย รอบตำบลน้ำก้อ ซึ่งทางทีมงานของเรา (GISTHAI Team) ได้จัดทำข้อมูลในเวลา 5 วันให้อยู่ในระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System - GIS) และแสดงเป็น ภาพจำลองสามมิติตามสภาพจริงของพื้นที่โดยรอบ (ประมาณ 400 ตร.กม.) ตำบลน้ำก้อ ได้แก่
- ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน พื้นที่ลุ่มน้ำ
- ลักษณะธรณีวิทยา
- ลักษณะดิน
- ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน

อย่าง ไรก็ตาม จากข้อมูลของปัจจัย หรือสาเหตุบางประการที่ได้แสดงเอาไว้ดังกล่าวนี้ ข้อมูลบางประการจะยังไม่สามารถนำไปร่วมวิเคราะห์ได้ เพราะเป็นข้อมูลก่อนปี 2540 และเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณ โดยรอบตำบลน้ำก้อ ได้แก่ พื้นที่ป่า พื้นที่ไร่เลื่อนลอย พื้นที่ชุมชน พื้นที่การเกษตร เส้นทางคมนาคม (ต้องอาศัยการแปลข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ที่ไม่เคยเห็นในการทำงานติดตามสภาพน้ำท่วมของประเทศเราเลย ในขณะนี้ และการเก็บข้อมูลในภาคสนามมาสุ่มตรวจสอบ) รวมทั้งปริมาณน้ำฝนรายวันที่ครอบคลุมบริเวณพื้นที่รับน้ำ เป็นต้น และเมื่อเราเข้าใจถึงสาเหตุ หรือปัจจัย ที่ทำให้พื้นที่ต่างๆ มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิด น้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ แล้ว ก็จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่วิธีการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อน ไหว หรือมีความเสี่ยง ต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลัน ในระดับต่างๆได้

วิธีการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ
ในทางทฤษฏีนั้น (จะไม่อธิบายในรายละเอียดมากนักเพราะเป็นเชิงวิชาการที่ลงลึกระดับหนึ่ง) โดยทั่วไปจะนิยมใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่จากปัจจัยตามธรรมชาติ Zoom Imagesและ ปัจจัยที่มนุษย์เป็นผู้กระทำขึ้น โดยมีการทดลองเลือกกำหนดค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยขึ้น และรวมผลสรุปเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลัน ในระดับต่างๆ โดยจะทำการสุ่มตรวจสอบข้อมูลในภาคสนามเพื่อ นำมาปรับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยให้เหมาะสม ในการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลัน ในระดับต่างๆ แต่ละพื้นที่ ซึ่งมีปัจจัยตามธรรมชาติ และปัจจัยที่มนุษย์เป็นผู้กระทำขึ้น แตกต่างกันไป ซึ่งต้องทำการศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละพื้นที่ต่อไป


การศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละพื้นที่
เมื่อได้พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวในระดับสูงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในพื้นที่ต่างๆ แล้ว จึงจะดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละพื้นที่ซึ่ง ทุกขั้นตอนของการดำเนินการตามแผนที่จะได้ (ซึ่งล้วนแต่ใช้เงินมากๆ เกือบทุกขั้นตอน) เช่น การอนุรักษ์ และปลูกป่า การรักษาหน้าดิน การก่อสร้างเขื่อน/ฝาย การปรับเส้นทางระบายน้ำ เส้นทางคมนาคม การวางผังเมืองใหม่ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม การติดตั้งเครื่องมือสื่อสาร/เตือนภัย/วัดปริมาณน้ำฝน การประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ต่อประชาชน ในพื้นที่ดังกล่าว (รวมเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย) เป็นต้นนั้น ไม่จำเป็นที่ทุกพื้นที่ ต้องกระทำเหมือนกันหมดอย่างแน่นอน

จากขั้นตอนต่างๆโดยสังเขปดังกล่าวข้างต้นของ
- สาเหตุ หรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่ม ฉับพลันในระดับต่างๆ
- วิธีการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม ฉับพลันในระดับต่างๆ
- การศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละ พื้นที่

ดัง กล่าวข้างต้นนั้น รัฐบาลจะสามารถกระทำให้เกิดผลอย่างจริงจังได้ในระยะยาวนั้น สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องรีบดำเนินการก็คือ การจัดทำระบบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย ทันการณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ระบบภาพดาวเทียม ซึ่งต้องเชื่อมโยงจาก หน่วยงานเครือข่าย ทั้งในระดับภูมิภาคและท้อง ถิ่น ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวัง และติดตามการเบลื่ยนแปลงปัจจัยต่างๆไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ทำหน้าที่ปฏิบัติ ในพื้นได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็วและทันการณ์ ซึ่งคงต้องมี หน่วยงานกลาง ที่มีความสามารถ (อย่างจริงจังเสียที) เพื่อรับผิดชอบข้อมูลเชิงพื้นที่ข้อมูลรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานต่าง โดยมีมาตรฐาน ช่วงเวลาที่เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้และไม่ซ้ำซ้อน (รวมทั้งมีข้อมูลดาวเทียม ที่มีความละเอียดซึ่งสามารถเลือกสั่งตามช่วงเวลาที่ต้องการได้)โดยข้อมูลดัง กล่าว ไม่ใช่แต่จะมีความสำคัญเฉพาะการป้องกันน้ำท่วมเท่านั้น แต่จะที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่สามารถ ใช้ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้ร่วมกันได้ซึ่งจะแก้ปัญหาทุกๆด้านของประชาชนที่รากหญ้า ได้อย่างแท้จริง

ปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำท่วม และแผ่นดินถล่มในประเทศเรานับวันจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอนจาก การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในระดับโลก (Global Climate Change) ความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน คงจะน้อยลง ถ้าเราเริ่มทำงานอย่างเป็นระบบ มีแผนงานระยะยาวที่ชัดเจน และกระทำอย่างมืออาชีพ ไม่ใช่แค่เฉพาะกิจเท่านั้น เพราะปัญหาเหล่านี้จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จะรุนแรงขึ้นและมากขึ้นอย่างแน่นอน อยากให้ช่วยป้องกันอย่างเต็มที่ก่อนการเกิดความเสียหาย ดีกว่ามาช่วยตอนเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม (เป็นประจำ) เท่านั้น ความรู้สึกทางจิตใจของชาวบ้านต่อความสูญเสียนั้นคงจะดีกว่านี้แน่ ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกก็ตาม เพราะเราได้พยายามป้องกัน และเตือนภัย(ในอนาคต)ไว้อย่างดีที่สุดแล้ว
ประเทศมาเลเซียใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของประเทศเขาเองติดตามเฝ้าระวังไฟป่าในเกาะบอร์เนียว ...
ประเทศสิงคโปร์มีภาพดาวเทียมของประเทศเขาเองที่มีรายละเอียด 1 เมตร เพื่อใช้ในการติดตาม และควบคุมงานสาธารณูปโภค การปรับปรุงพื้นที่ถมชายทะเลอยู่ตลอดเวลา ...

แล้วประเทศไทยของเรา.. การแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับเรื่องน้ำท่วมและดินถล่มในบ้านเรา.. จะใช้ประสบการณ์แก้ปัญหา เฉพาะหน้าโดยใช้กรอบแนวคิดแบบเดิมๆ

...ภาค รัฐจะเพียงแต่คอยใช้วิกฤติให้กลายเป็นโอกาสจากการใช้งบประมาณอย่างรวด เร็ว(เป็นหลัก) จากความเห็น(ที่สรุปได้อย่างรวดเร็ว)โดยการซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือ(เช่น ดาวเทียมเพื่อใช้เฝ้าระวังหมู่บ้านเสี่ยงภัยที่ยังไม่ได้ทำการศึกษาและ วิเคราะห์อย่างจริงจัง รวมทั้งเครื่องเทเลเมเตอริงที่จะใช้เตือนภัย) ซึ่งจะคุ้มค่าต่อการช่วยเหลือประชาชน อย่างแท้จริงซักเพียงใด คงจะมีคำถามต่อไปอีกอย่างแน่นอน..
ไม่คิดใหม่ทำใหม่ให้รอบคอบและสอดคล้องตามหลักวิชาการ สมัยใหม่อย่างเป็นระบบ โดยไม่ลืมข้อมูลพื้นฐานเดิมและภูมิปัญญาชาวบ้าน มาช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์ หาแนวทางในการวางแผนป้องกันภัยจากน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันในประเทศเรา ดูบ้างหรือไร..



กรณีศึกษาในเบื้องต้นถึงสาเหตุการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน บริเวณ ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศ 3 มิติบริเวณ ตำบลน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
Zoom Image Zoom Image Zoom Image
1. ภาพแสดงตำแหน่งของบริเวณตำบลน้ำก้อ 2. ภาพแสดงเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3. ภาพแสดงความลาดชัน พื้นที่ลุ่มน้ำ
Zoom Image Zoom Image Zoom Image
4. ภาพแสดงลักษณะของชุดดิน 5. ภาพแสดง ลักษณะทางธรณีวิทยา 6. ภาพแสดงชั้นความสูง
Zoom Image Zoom Image Zoom Image
7. สาเหตุตามธรรมชาติ
ที่ก่อให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่ม
8. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
ที่ก่อให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่ม
9. ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศ
แบนด์ 3 - 2 - 1 (แดง - เขียว - น้ำเงิน)
วันที่ 12 ธันวาคม 2535
Zoom Image Zoom Image Zoom Image
10. ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศ
แบนด์ 3 - 2 - 1 (แดง - เขียว - น้ำเงิน)
วันที่ 7 มีนาคม 2543
11. ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศ
แบนด์ 5 - 4 - 3 (แดง - เขียว - น้ำเงิน)
วันที่ 12 ธันวาคม 2535
12. ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศ
แบนด์ 5 - 4 - 3 (แดง - เขียว - น้ำเงิน)
วันที่ 7 มีนาคม 2543


ภาพถ่ายจากการสำรวจ บริเวณตำบลน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ [ ถ่ายเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2544 ]
Zoom Image Zoom Image Zoom Image Zoom Image
ภาพถ่าย 01 ภาพถ่าย 02 ภาพถ่าย 03 ภาพถ่าย 04
Zoom Image Zoom Image Zoom Image Zoom Image
ภาพถ่าย 05 ภาพถ่าย 06 ภาพถ่าย 07 ภาพถ่าย 08