Highlight

Research & Consultancy

Tsunami โศกนาฏกรรมอันดามัน

 
.....อย่าไปตระหนกตกใจกลัวจนเกินเหตุ...จากการให้ข่าวของนัก วิชาการ?จากหน้าตาทางสังคมที่ดูน่าเชื่อถือ?ขยันให้ข่าวสื่อแบบคาดเดาแบบไม่ มีเวลาชัดเจน...จากข่าวที่จะเกิดสึนามิขึ้นอีก (สึนามิที่มีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวที่ไม่มีระบบใดบอกได้ล่วงหน้าก่อนการ เกิด) พูดแบบนี้ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ไปอธิบาย..ไม่ใช่ โหราศาสตร์ครับ:-) ....ความรู้ความเข้าใจเชิงพื้นที่จะทำให้เกิดความตระหนัก รู้หลักการ&ถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อม และเตือนอย่างเป็นระบบที่ดีกว่าเมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหว 9.0 เมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2547 ในทะเลอันดามัน (ตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา) ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิต่อแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้านเรา ที่มีเวลาเวลาประมาณ 1.5 ชม. หลังเกิดแผ่นดินไหวก่อนที่คลื่นสึนามิจะถึงชายฝั่งทะเลอันดามันของบ้าน เรา.....เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยปัญญาของเราได้เพิ่มเติมที่ ...รำลึก 9ปี สึนามิ @ 26 ธันวาคม 2547..ได้ที่
- ความรู้ด้านธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์เชิงระบบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ สำหรับระบบเฝ้าระวัง
  และการจัดการเพื่อลดผลกระทบในอนาคต

- การประเมินความเสียหายของพื้นที่ 6 จังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบจากสึนามิ โดยใช้เทคนิคการ
  ประเมินความแตกต่างของค่า NDVI ของภาพข้อมูลดาวเทียม Landsat
   ก่อนและหลัง เหตุการณ์ คลื่นยักษ์ Tsunami

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประเมินพื้นทีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ บริเวณ เขาหลัก จ.พังงา โดยใช้ข้อมูล
   จากการสำรวจระยะไกล (high resolution)

- การประยุกต์ใช้ GIS และข้อมูล Remote Sensing เพื่อการประเมินผลกระทบเบื้องต้นทางกายภาพในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย จากการเกิดคลื่นยักษ์ (tsunami)
Aftershocks of 26 Dec 04 - 27 Mar 05   Aftershocks of 28 Mar 05 - 1 Apr 05   Zoom ...   แผนที่แสดงรอยต่อแผ่นเปลือกโลกและตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดความ รุนแรงมากกว่า 7 ริกเตอร์ ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2448 - 8 ตุลาคม 2548)
บริเวณทวีปเอเชีย และมหาสมุทรอินเดีย

Aftershocks of
26 Dec 04 - 27 Mar 05
  Aftershocks of
28 Mar 05 - 1 Apr 05
  for more information...

ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พิบัติภัยจาก ดินถล่ม-น้ำปนตะกอนบ่า-น้ำหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ

 
ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์" องค์ประกอบของ GIS หน้าที่ของ GIS ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์
 
แผนที่ และ ข้อมูลเชิงพื้นที่ ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคนิค และวิธีการนำเข้าข้อมูล GIS for everyone Show Presentation..

ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
โลกมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature

ประเภทของ Feature
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่ กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  • จุด (Point)
  • เส้น (Arc)
  • พื้นที่ (Polygon)
 
จุด (Point)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะเจาะจง หรือมีเพียงอย่างเดียว สามารถแทนได้ด้วยจุด (Point Feature)
  • หมุดหลักเขต
  • บ่อน้ำ
  • จุดชมวิว
  • จุดความสูง
  • อาคาร ตึก สิ่งก่อสร้าง
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยจุดหรือไม่
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุด
ตัวอย่างเช่น บน แผนที่โลก มาตราส่วนเล็กจะแทนค่าที่ตั้งของเมืองด้วยจุด แม้ว่าในความเป็นจริงเมืองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่งก็ตาม ในขณะเดียวกันบนแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นเมืองดังกล่าวจะปรากฏเป็นพื้นที่ และแต่ละอาคารจะถูกแทนค่าด้วยจุด

ข้อมูลค่าพิกัดของจุด
  • ค่าพิกัด x, y 1 คู่ แทนตำแหน่งของจุด
  • ไม่มีความยาวหรือพื้นที่
 
เส้น (Arc)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่วางตัวไปตามทางระหว่างจุด 2 จุด จะแทนด้วยเส้น (Arc Feature)
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเส้น
  • ลำน้ำ
  • ถนน
  • โครงข่ายสาธารณูปโภค
  • เส้นชั้นความสูง
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Arc
Arc 1 เส้น มี Vertex ได้ไม่เกิน 500 Vertex โดย vertex ลำดับที่ 500 จะเปลี่ยนเป็น node และเริ่มต้น เส้นใหม่ด้วยการ identifier ค่าใหม่โดยอัตโนมัติ

ข้อมูลค่าพิกัดของ Arc
  • Vertex (ค่าพิกัด x, y คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของ arc
  • arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node
  • arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node
  • ความยาวของ arc กำหนดโดยระบบค่าพิกัด
 
พื้นที่ (Polygon)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีพื้นที่เดียวกันจะถูกล้อมรอบด้วยเส้นเพื่อแสดงขอบเขต ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นพื้นที่
  • เขตตำบล อำเภอ จังหวัด
  • ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ
  • เขตน้ำท่วม
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนของแหล่งที่มาของข้อมูลจะเป็นตัวกำหนดการแทนปรากฏการณ์บนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย point หรือ polygon ตัวอย่าง เช่น อาคารบนมาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1 : 4,000 เป็น polygon ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยขอบเขตอาคาร บนแผนที่ 1 : 50,000 ที่มาตราส่วนเล็ก อาคารจะแสดงด้วยจุด

ข้อมูลค่าพิกัดของ Polygon
  • polygon จะประกอบด้วย arc ตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไป แต่มี 1 Label point
  • มี Label point 1 point อยู่ภายในพื้นที่ปิดและใช้ในการแยกแยะแต่ละ polygon ออกจากกัน