การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ
กลุ่มโครงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดย สมบัติ อยู่เมือง ผู้รับผิดชอบโครงการ
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น การเกิดดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน การทรุดตัวของแผ่นดินและการพังทลายของชายฝั่ง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง เกิดจากการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ จนเกินความสมดุลที่ธรรมชาติจะรองรับได้ ซึ่งเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในต่างประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้ในการติดตาม (Monitoring) ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติกันอย่างแพร่หลาย
ในการจัดทำโครงงานนี้จะเป็นการนำเสนอโดยการใช้ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล ในหลายช่วงเวลา ทำการวิเคราะห์ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และจัดทำเป็นภาพจำลองสามมิติในเชิงพื้นที่ เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามช่วงระยะเวลาที่ เปลี่ยนไป ตลอดจนความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมกับการเกิดพิบัติภัยธรรมชาติ ทั้งในระดับพื้นที่เฉพาะแห่ง และในระดับภูมิภาคของประเทศ
ประโยชน์ของโครงงาน
เป็น การนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล กับงานทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าชมทราบถึงแนวคิดและ ตระหนักถึงการให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ในการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจสำหรับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติใน พื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นพลวัต (Dynamics) มากขึ้น โดยยกตัวอย่างบางส่วนของงานศึกษาวิจัยในหลายพื้นที่มาประกอบ
จุดเด่นของโครงงาน
การ นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ในการวางแผน การติดตามตรวจสอบ การบริหารและการวางแผน การตัดสินใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลจริงจากพื้นที่ของประเทศ โดยทำการนำเสนอในลักษณะโปสเตอร์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลโดยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ ทั้ง GIS และ RS โดยประกอบด้วยภาพจำลองสามมิติ ในลักษณะต่าง ๆ ร่วมกับการนำเสนอแบบสื่อผสม (Multimedia) โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
รูปแบบการนำเสนอ
ทำ การจัดนิทรรศการและสาธิตเพื่อให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการ ประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เกี่ยวกับการจัดการด้านวิกฤตสิ่งแวดล้อมและด้านพิบัติภัยธรรมชาติโดยเป็นการ นำเสนอผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวางแผนจัดการแก้ไขปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ ในลักษณะของการนำเสนอผ่านโปสเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงผลการศึกษาซึ่งครอบคลุมบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ ได้แก่
1. แผนที่ภาพจำลองลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย
2. การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเกิดดินถล่ม-น้ำ ท่วมฉับพลัน บริเวณ บ้านน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
3. การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลการสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมของประเทศไทย กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
4. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงปี พ.ศ.2531 - 2545
5. การเปลี่ยนแปลงลักษณะชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2545 (บริเวณจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์)
6. การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดิน บริเวณเกาะภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2544
7. ภาพ ข้อมูลจากดาวเทียมบริเวณภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2543 - 2544 ที่จัดทำโดยกรมพัฒนาที่ดิน
8. การ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดทำแบบจำลองสามมิติแสดงลักษณะ ภูมิประเทศก่อนและหลังเกิดการถล่มบริเวณเขานางพันธุรัต (เขาเจ้าลายใหญ่) จังหวัดเพชรบุรี
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลภาพดาวเทียม จาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - สทอภ. (GISTDA)
- Details
- Category: GISTHAI Article
- Hits: 1682