×

Warning

Joomla\CMS\Filesystem\Folder::create: Could not create folder.Path: [ROOT]\images\thumbnails\D:
โครงการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่ โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : sombat@gisthai.org

บทนำ
             การ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน สังคม และประเทศ ถือเป็นเจตนารมณ์ร่วมในการจัดการศึกษาของประเทศส่วนใหญ่ หากแต่มีความแตกต่างกันในสาระที่เป็นจุดเน้น และการดำเนินการตามปรัชญา แนวความคิดพื้นฐาน วิสัยทัศน์ และเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในแต่ละยุคสมัย อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ และกระแสการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจฐานความรู้ ทำให้ผู้นำประเทศต้องคิดถึงกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการศึกษาที่มีการใช้ความ รู้ และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการผลิตและพัฒนา เพื่อตอบสนองสิ่งท้าทายและกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับประเทศไทย การปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่สำคัญ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยฉบับแรก ในการนำสาระนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการศึกษา ดังบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการเสริมสร้างโอกาสในการศึกษาให้แก่ประชาชนทุกคน ซึ่งถือเป็นประเด็นปฏิรูปการศึกษาที่มีความสำคัญยิ่งมาอย่างต่อเนื่อง
                การ ดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประประสงค์ดังกล่าวข้างต้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาควบคู่กันไปคือ การพัฒนาระบบติดตาม ชี้วัดและประเมินผลการจัดบริการด้านการศึกษาของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งแตกต่างไปจากการติดตามประเมินผลในภาพรวมของประเทศ (เช่น การบอกจำนวนร้อยละของประชากรที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น) ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาซึ่งยังขาดกรอบความคิดในการประเมินความสำเร็จของการ ปฏิรูปการศึกษา ทั้งในระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลลัพธ์สุดท้าย รวมทั้งการพิจารณาที่จำแนกตามสังกัดของโรงเรียน ขนาด และพื้นที่ตั้งของโรงเรียน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาในการจัดบริการการ ศึกษาให้ได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ควบคู่ไปพร้อมกับการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
               การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดบริการทางด้านการศึกษาเชิง พื้นที่ คือ การพัฒนารูปแบบในการวิเคราะห์และประเมินผลการจัดบริการทางด้านการศึกษา โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) ในหลากมิติ ทั้งข้อมูลทางด้านสภาพปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ (Problem) ลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ของพื้นที่ (Geography) อุปสงค์ทางด้านผู้เรียน (Demand) อุปทานทางด้านผู้สอนและสถานศึกษา (Supply) รวมไปถึงเป้าหมาย (Target) ในการจัดบริการในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ (Analysis) และสังเคราะห์ (Synthesis) เพื่อลำดับความสำคัญเร่งด่วน ตามสภาพความต้องการและสภาพปัญหา ออกแบบและจัดทำตัวชี้วัดทางด้านประสิทธิผลในการจัดบริการการศึกษาในแต่ละ พื้นที่ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพปัญหา ทุนทางสังคมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการและการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดบริการทางการศึกษา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียม เป็นธรรม เพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่น มีความสามารถในการเจริญเติบโตและพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นพลวัต (Dynamics) และยั่งยืน

วัตถุประสงค์โครงการ
  1. การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ทางด้านการจัดบริการการศึกษา
  2. การประชุมเชิงปฏิบัติการและสำรวจจัดเก็บข้อมูลทางด้านการจัดบริการการศึกษา
  3. การออกแบบและพัฒนาระบบการนำเข้าข้อมูลทางด้านการให้บริการการศึกษาเชิงพื้นที่
  4. การออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่
  5. การวิเคราะห์และประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis)
  6. การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการเชิงนโยบายในการบริหารจัดการและการตัดสินใจในการจัดบริการด้านการศึกษาเชิงพื้นที่

ขอบเขตการดำเนินงาน
  1. ออกแบบและพัฒนา รวมถึงการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในภาคสนาม (พื้นที่ต้นแบบ จำนวน 1 เขตการศึกษา) ของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมถึงข้อมูลลักษณะและสภาพทั่วไปในการจัดบริการด้านการศึกษาให้กับ ประชาชนในพื้นที่ เช่น จำนวนสถานศึกษาที่เปิดสอนในระดับต่างๆ จำนวนผู้บริหาร ครู/อาจารย์ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ภูมิลำเนา จำนวนนักเรียน นักศึกษาจำแนกตามกลุ่มอายุ เป็นต้น
  2. ฐานข้อมูลการจัดบริการการศึกษา แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลด้านอุปสงค์ (Demand) หรือข้อมูลด้านความต้องการในการรับบริการการศึกษา และข้อมูลด้านอุปทาน (Supply) หรือข้อมูลด้านการให้บริการการศึกษา
  3. ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นฐานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Database) เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของข้อมูลเชิงพื้นที่ จะครอบคลุมถึงข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ ประชากร เศรษฐกิจ และสังคมในด้านต่างๆ
  4. การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และประเมินผลประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการจัดบริการทางด้านการศึกษาเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) โดยเน้นเกณฑ์ด้านโอกาสในการเข้ารับการศึกษาของประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่ อย่างครอบคลุมทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม ประกอบกับเกณฑ์ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดบริการการศึกษา รวมทั้งความพึงพอใจของประชากรกลุ่มเป้าหมายต่อการจัดบริการด้านการศึกษาเชิง พื้นที่
  5. การจัดกลุ่มพื้นที่ของผู้รับบริการและกลุ่มพื้นที่ของผู้ให้บริการ (ระดับหมู่บ้าน จังหวัด เขตพื้นที่) ภาคภูมิศาสตร์และกลุ่มพื้นที่ของผู้ให้บริการ (สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา) ที่สามารถจัดบริการทางด้านการศึกษาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ) และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดบริการด้าน การศึกษาเชิงพื้นที่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลผลิต (Output)
  1. รายงานการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ : การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
  2. รายงานการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ : การอาชีวศึกษาและฝึกอบรม
  3. รายงานการประเมินผลการจัดบริการการศึกษาเชิงพื้นที่ : การอุดมศึกษา
  4. การจัดกลุ่มพื้นที่ของผู้รับบริการและกลุ่มพื้นที่ของผู้ให้บริการ และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดบริการ ด้านการศึกษาเชิงพื้นที่
  5. มาตรการเบื้องต้นเชิงนโยบายในการบริหารและการตัดสินใจการจัดบริการทางด้านการศึกษาเชิงพื้นที่
ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่ได้รับบริการทางด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการอย่างแท้จริง
  2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่สามารถบริหารและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผล
  3. รัฐบาลจัดสรรทรัพยากรทุกประเภทในการสนับสนุน ส่งเสริม และเพิ่มโอกาสในการเข้ารับการศึกษาของประชากรได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่าง มีประสิทธิผล
  4. การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo - Informatics) และเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการสนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการจัดบริการการศึกษาในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นพลวัต (Dynamics)
แนวทางและเทคนิคในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในเชิงพื้นที่



ข้อมูลเพิ่มเติม